
คู่มือ "เลือกตู้เย็นฉบับเด็กหอ" เล็กแต่ครบ จบในเครื่องเดียว
ใครที่กำลังมองหาตู้เย็นไว้ใช้ในหอพัก บทความนี้คือ “ไกด์ฉบับสมบูรณ์” ที่จะช่วยให้คุณเลือกตู้เย็นได้แบบไม่ต้องปวดหัว พร้อมเทคนิคเล็ก ๆ ที่คนอยู่หอควรรู้ด้วย
โพสต์เมื่อ16 June 2025หลายๆ คน ที่กำลังเตรียมตัวก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยและเตรียมความพร้อมที่จะย้ายเข้าไปอยู่ภายในหอพัก แต่ยังติดปัญหาที่ว่า “ไม่กล้าอยู่คนเดียว” จนอยากจะมีรูมเมทหรืออยากจะใช้โอกาสนี้หาเพื่อนดีๆ สักคนมาช่วยหารค่าเช่าหอพัก โดยเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าการหารูมเมท (Roommate) นั้น ถือได้ว่าเป็นความคิดที่ดีที่จะช่วยแก้ปัญหาความกลัว ความเหงา หรือปัญหาการอยู่คนเดียวต่างๆ เหล่านี้ให้ออกไปได้บ้าง อีกทั้งการเลือกรูมเมทที่ดีจะให้เรารู้สึกสบายใจ เหมือนได้เพื่อนสนิทเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคน แต่เราจะเลือกรูมเมทจากอะไรล่ะ ? ดังนั้นในวันนี้ทีมงาน Renthub เลยขอเอาใจเฟรชชี่น้องใหม่ โดยการนำหลักวิธีเลือกรูมเมทแบบง่ายๆ มาฝาก
ก่อนที่จะเริ่มเลือกรูมเมทอยากให้ลองถามตัวเองก่อนว่า เรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะให้รูมเมทของเราแชร์พื้นที่ส่วนตัวกัน เช่น คุณเป็นคนซีเรียสมากน้อยแค่ไหนในเรื่องการใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น ? การแบ่งโต๊ะเครื่องแป้ง ตู้เสื้อผ้า เตียงนอน โต๊ะอ่านหนังสือกันคนละครึ่งคุณโอเคไหม ? ซึ่งถ้าคุณรับได้ในเรื่องทั้งหมดที่กล่าวมา ก็ถือว่าตัวคุณเองมีความพร้อมที่จะต้อนรับรูมเมทคนใหม่แล้วล่ะ
ในช่วงที่คุณกำลังประกาศหารูมเมทนั้น ให้คุณใส่รายละเอียดข้อตกลงในการทำความสะอาดห้องให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากากินแรงกัน ซึ่งอาจจะทำให้ผิดใจกันเอาได้ง่ายๆ อาทิเช่น ผลัดกันล้างห้องน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง, รับผิดชอบกวาดถูห้องผลัดกันคนละเดือน ฯลฯ โดยรายละเอียดในส่วนนี้จะทำให้คุณและรูมเมทไม่มีปัญหาเรื่องการทำความสะอาดอย่างแน่นอน
ลองสำรวจไลฟ์สไตล์ตัวเองอีกซักนิดว่าเราเป็นสาวปาร์ตี้ ชอบเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง เป็นนักศึกษาสายกิจกรรม กลับดึก หรือตื่นเช้าเกินไปหรือเปล่า ? และถ้าเป็นแบบนั้นแล้วรูมเมทของเราคนนั้นเค้าเป็นแบบเดียวกันกับเราไหม ? ซึ่ง Renthub ขอแนะนำว่าก่อนเลือกรูมเมทมาอยู่ด้วยสักคน ควรรู้จักตัวตนของกันและกันคร่าวๆ ก่อน เพื่อที่จะได้ปรับตัวเข้าหากันได้ง่าย ไม่อย่างนั้นจะกลับกลายเป็นพฤติกรรมที่รบกวนกันมากกว่า แต่ถ้ารูมเมทเรามีไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันรับรองว่านอกจากจะไม่รบกวนกันแล้ว อยู่ด้วยกันนานๆ ไปจะถือได้ว่ารูมเมทคนนี้เป็นเพื่อนสนิทเราเพิ่มขึ้นมาอีกคนเลยก็ว่าได้
เรียกได้ว่าเรื่องเงินๆ ทองๆ ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ เพราะห้องเช่าที่เราเช่าอยู่ถือเป็นการรับผิดชอบร่วมกันกับรูมเมท แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาคุณอาจจะซวยได้ ซึ่งขอยกตัวอย่างปัญหาที่เคยเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น รูมเมทอีกคนจ่ายค่าเช่าครึ่งหนึ่งของบิลค่าเช่าไว้แล้ว โดยฝากเงินไว้กับรูมเมทอีกคนหนึ่ง แต่รูมเมทคนนั้นดันจ่ายช้าหรือเอาเงินไปโดยไม่ได้นำไปจ่าย และเจ้าของหอคิดว่าห้องเช่าห้องนี้ต้องเบี้ยวค่าเช่าแน่ๆ จึงเกิดการล็อกประตูห้องขึ้นมา! เพราะฉะนั้นตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายกันให้เรียบร้อยและเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในภายหลัง
สุดท้ายการเลือกรูมเมทมาอยู่ด้วยซักคนก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี แต่ทำยังไงดีที่จะทำให้รูมเมทคนนี้อยู่กับเราได้โดยไม่มีปัญหา จนสามารถเป็นเพื่อนสนิทของคุณได้ Renthub ขอแนะนำอีกหนึ่งทริคคือหมั่นแชร์ไลฟ์สไตล์ แชร์งานอดิเรก แชร์เรื่องที่เราสนใจ หรือกิจกรรมที่ควรทำร่วมกัน เช่น กินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ช่วยกันทำการบ้าน หรือเป็นที่ปรึกษาที่ดีเมื่อรูมเมทของเรามีเรื่องทุกข์ใจ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีเพื่อนสนิทที่สามารถคุยได้ทุกเรื่องแล้วล่ะ!
และหากคุณกำลังเตรียมตัวย้ายเข้ามหาวิทยาลัยและกำลังมองหาหอพัก/อพาร์ทเมนท์ใกล้มหาวิทยาลัย คุณก็สามารถค้นหาหอพักกว่า 16,000 แห่งได้ที่ Renthub เว็บไซต์ค้นหาหอพักอันดับ 1 ของไทย!
ใครที่กำลังมองหาตู้เย็นไว้ใช้ในหอพัก บทความนี้คือ “ไกด์ฉบับสมบูรณ์” ที่จะช่วยให้คุณเลือกตู้เย็นได้แบบไม่ต้องปวดหัว พร้อมเทคนิคเล็ก ๆ ที่คนอยู่หอควรรู้ด้วย
โพสต์เมื่อ16 June 2025ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กหอมือใหม่ พึ่งย้ายจากบ้านมาเรียนในเมือง หรือมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเช่าหออยู่ใกล้ที่ทำงาน การเตรียม "ยาสามัญประจำหอ" ให้พร้อมไว้เสมอ คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณรับมือกับอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ทันที วันนี้เราเลยรวมลิสต์ “ยาสามัญประจำหอที่ควรมีติดไว้” ครบจบทุกสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะแค่เจ็บคอ เป็นไข้ ท้องเสีย หรือเจอแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เอาอยู่แน่นอน
โพสต์เมื่อ15 June 2025บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287
COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.