Home Icon

กระทรวงการคลังเตรียมนำร่องกฎหมาย “ภาษีลาภลอย” กลับมารื้อฟื้นอีกครั้ง

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
05 July 2022
กระทรวงการคลังเตรียมนำร่องกฎหมาย “ภาษีลาภลอย” กลับมารื้อฟื้นอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีการเปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายภาษีลาภลอย (Windfall tax) อีกครั้ง หลังจากในอดีตที่ผ่านมา ได้มีการยกร่างขึ้นแล้วและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติร่างกฎหมายไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการสานต่อ และตนได้มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจ และถ้าหากรัฐบาลมีเหตุผลที่จะต้องดำเนินการเก็บภาษีในส่วนนี้ ก็พร้อมจะดำเนินการต่อในทันที

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวไว้ว่า...

“แนวคิดของร่างกฎหมายดังกล่าว ผมก็มีส่วนในการผลักดันเมื่อหลายปีที่แล้ว ถือว่าเป็นกฎหมายที่มองไปในอนาคต ว่าเมื่อเมืองมีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ,ทางด่วน เป็นต้น ทำให้ราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงโครงการของรัฐ ปรับราคาขึ้น ก็ควรแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งมาให้กับรัฐ”

โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 ได้มีการอนุมัติร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ โดยกำหนดเพดานภาษีไว้ไม่เกิน 5 %ของมูลค่าที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ตามแนวรถไฟฟ้า,รถไฟความเร็วสูง,สนามบิน,ท่าเรือหรือโครงการสาธารณูปโภคตามที่กฎหมายกำหนด แต่เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลเลยชะลอการจัดเก็บไปก่อน

ซึ่งวัตถุประสงค์ของการร่างกฎหมายนี้คือ...

“เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ส่งผลให้ราคาที่ดินในบริเวณรัศมีโครงการสาธารณูปโภคปรับราคาสูงขึ้น”

ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีลาภลอย จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบไปด้วย

ช่วงที่ 1

คือ ช่วงตั้งแต่วันลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้น ๆ จนถึงวันตรวจรับมอบโครงการ หรือเรียกว่าเป็นช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค การซื้อขายที่ดินในช่วงนี้ จะถูกจัดเก็บภาษีลาภลอย (Windfall Tax) ในทุกครั้งที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีเฉพาะมูลค่าที่ดิน ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยใช้ฐานราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ณ วันที่ได้รับที่ดินแปลงนั้นมา กับราคาประเมินที่ดินในช่วงระหว่างก่อสร้างโครงการนั้น (ช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค)

ช่วงที่ 2

คือ ช่วงที่ก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้นแล้วเสร็จ จะเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว ( one Time) ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่เปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีจากมูลค่าที่ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะที่ดิน หรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น มูลค่าที่ดินที่ต่ำกว่านี้ไม่มีภาระภาษี และยกเว้นที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ดินเกษตรกรรม

สรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับภาษีลาภลอย

สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน, บ้าน, คอนโด ที่มูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท และอยู่ใกล้กับแนวรถไฟฟ้า,รถไฟความเร็วสูง,สนามบิน,ท่าเรือหรือโครงการสาธารณูปโภค(ตามที่กฎหมายกำหนด) ในระยะ 5 กิโลเมตร ต่อไปนี้ราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของคุณจะมีราคาที่สูงขึ้น และถ้าคิดจะขายคุณก็จำเป็นที่จะต้องเสีย “ภาษีลาภลอย” เพิ่มขึ้นอีก 5%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

RELATED ARTICLES

1 ส.ค. 67 เตรียมตัวให้พร้อม เช็กวิธีลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้ที่นี่!

1 ส.ค. 67 เตรียมตัวให้พร้อม เช็กวิธีลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้ที่นี่!

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าว โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยเปิดให้ ลงทะเบียนผ่านแอปฯ "ทางรัฐ" ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน 2567 และเริ่มใช้จ่ายได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ประชาชนประมาณ 45-50 ล้านคนจะเข้าร่วมได้ และผู้ไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม 2567

โพสต์เมื่อ25 July 2024

POPULAR ARTICLE

รวมปฏิทินกำหนดการวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยช่วงเดือน ก.ย. 2566 - ก.พ. 2567

รวมปฏิทินกำหนดการวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยช่วงเดือน ก.ย. 2566 - ก.พ. 2567

โพสต์เมื่อ18 September 2023
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram