Home Icon

เริ่มต้นใช้หนี้ กยศ.ยังไงดี ? เมื่อเรียนจบแล้วและต้องจ่ายค่าเช่าหอพักไปด้วย

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
18 November 2022
เริ่มต้นใช้หนี้ กยศ.ยังไงดี ? เมื่อเรียนจบแล้วและต้องจ่ายค่าเช่าหอพักไปด้วย

เป็นอย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่าในปัจจุบันนี้ กยศ. หรือกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อเด็กไทยเป็นอย่างมาก เพราะสามารถช่วยทำให้เด็กๆ ที่ประสบกับปัญหาทางด้านการเงินได้เรียนต่อจนจบปริญญาตรี ด้วยการปล่อยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินที่ต่ำมากและเมื่อเรียนจบแล้วค่อยทยอยคืนเงินที่ได้กู้ยืมมาในภายหลัง อีกทั้งทางกยศ.ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ให้นานถึง 15 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ 1% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นดอกเบี้ยที่ถูกมากๆ เลยทีเดียว

และในวันนี้ทางทีมงาน Renthub จึงขอเอาใจน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบมาใหม่ๆ ว่าควรที่จะเริ่มใช้หนี้ กยศ. อย่างไร ? โดยที่จะต้องจ่ายค่าเช่าหอพัก/อพาร์ทเม้นท์ไปด้วย ซึ่งวิธีการที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้จะช่วยทำให้น้องๆ สามารถผ่อนจ่ายค่า กยศ. ได้ตรงตามเวลาและค่าเช่าหอพักได้อย่างไม่มีสะดุด ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับข้อมูลที่น่าสนใจนี้พร้อมๆ กันเลย

คำนวณเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ กยศ. ในแต่ละเดือน/ปี

อันดับแรกให้น้องๆ คำนวณก่อนว่าเบี้ยที่จะต้องจ่ายให้กยศ.ในแต่ละเดือน/ปี เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้นำมาวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งปกติแล้วการจ่ายหนี้กยศ. จะเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่น้องๆ เรียนจบมาแล้ว 2 ปี เช่น น้องๆ กู้ยืมเรียนปีสุดท้ายในปีการศึกษา พ.ศ. 2560 (พฤษภาคม 2560 – เมษายน 2560) น้องๆ ก็จะครบกำหนดจ่ายหนี้กยศ.ครั้งแรกในปี 2563 ( 5 กรกฎาคม 2563) ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1% ต่อปีจากยอดกู้คงเหลือ (ปีแรกจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย) แต่ถ้ามีการผิดนัดจ่ายหนี้น้องๆ จะต้องเจอกับค่าปรับและค่าธรรมเนียมซึ่งจะคิดจากยอดค้างชำระในแต่ละปีดังนี้

  • กรณีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี คิดที่ 12% ต่อปี
  • กรณีค้างชำระเกิน 1 ปีขึ้นไป คิดที่ 18% ต่อปี

ทั้งนี้ทางกยศ.จะทำตารางสรุปมาว่าในแต่ละปีน้องๆ จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่มาให้ โดยจะมีการคิดคำนวณเงินต้น ดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่กู้มาให้ดูแบบขั้นบันได ว่าปีนี้และปีต่อๆ ไปจะต้องจ่ายเท่าไหร่(เริ่มจากจำนวนเงินน้อยๆ ในช่วงแรก และจะจ่ายแพงขึ้นในปีต่อๆ ไป) ซึ่งถือได้ว่ามีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก เพราะน้องๆ ไม่ต้องมานั่งคำนวณเองให้เสียเวลา หรือหากใครต้องการตรวจเช็คยอดหนี้ที่ยังคงค้างอยู่ ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่แอพพลิเคชั่น “กยศ. Connect”

ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น กยศ. Connect สำหรับ IOS  

ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น กยศ. Connect สำหรับ Android 


ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยที่ต้องการจ่ายกยศ.

สมมุติน้องๆ ได้กู้กยศ. มา 100,000 บาท ในปีที่ 2 หลังจากหมดช่วงระยะเวลาปลอดหนี้แล้ว น้องๆ จะโดนเรียกเก็บเงินอยู่ที่ 1.5% ของยอดหนี้รวมทั้งหมด ซึ่งนั่นก็คือ 1,500 บาท/ปี ซึ่งเมื่อนำมาหารกับ 12 เดือน แล้ว ก็จะตกอยู่ที่ 125 บาท/เดือน เท่านั้น หรือตัวอย่างตามรูปภาพด้านล่าง

ตาราง+ชำระหนี้-01.jpg

ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้-01_0.jpg

คำนวณค่าหอพักที่ต้องจ่ายต่อเดือน

หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าเราจะต้องจ่ายหนี้กยศ.เป็นจำนวนเงินกี่บาทต่อเดือน/ปี ลำดับต่อไปก็ให้น้องๆ นำค่าเช่าหอพักและค่าหนี้กยศ.ที่ต้องจ่ายมารวมกัน อาทิเช่น จ่ายหนี้กยศ. 125 บาท/เดือน จ่ายค่าหอพัก 3,500 บาท/เดือน ก็จะเป็นยอดเงินทั้งสิ้น 3,625 บาท ซึ่งจำนวนเงินนี้เป็นจำนวนเงินที่น้องๆ จะต้องหักเก็บทันทีหลังจากที่เงินเดือนออก รวมไปถึงอย่าลืมประมาณค่าน้ำ/ค่าไฟ ที่จะต้องจ่ายต่อเดือนด้วย เพื่อที่น้องๆ จะได้รู้ว่าเดือนนี้มีรายจ่ายตายตัวอะไรบ้าง ?

แยกบัญชีสำหรับจ่ายหนี้กยศ.

สำหรับน้องๆ คนไหนที่รู้ตัวว่าเก็บเงินไม่เก่ง ทางทีมงาน Renthub ก็ขอแนะนำให้น้องๆ เปิดบัญชีธนาคารไว้สำหรับเก็บเงินที่จะต้องจ่ายหนี้กยศ.(หากจ่ายเป็นรายปี) โดยให้หักเงินจากเงินเดือนเข้าบัญชีดังกล่าวทุกๆ เดือน เพื่อป้องกันการหลงลืมและเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาหาเงินก้อนเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายหนี้กยศ.ประจำปีนั่นเอง

มองหาหอพักที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต

แม้ว่าจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายให้กับกยศ.นั้น ดูไม่ใช่เงินก้อนใหญ่อะไรมากมาย(หากเฉลี่ยต่อเดือน) แต่เมื่อได้รวมกับค่าเช่าหอพักแล้ว เงินหลักร้อยก็อาจจะสร้างปัญหาเอาได้ง่ายๆ ดังนั้นทริคอีกหนึ่งอย่างที่จะทำให้น้องๆ ไม่ต้องมาสะดุดในเรื่องการเงินเลยก็คือ การเลือกหอพักที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต อาทิเช่น ราคาค่าเช่าที่ถูก ทำเลที่ตั้งหอพักที่อยู่ใกล้กับที่ทำงาน(เพื่อประหยัดเงินค่าเดินทาง) หอพักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ฯลฯ โดยน้องๆ สามารถมองหาหอพักในทำเลต่างๆ ได้ที่ Renthub เว็บไซต์ที่รวบรวมหอพักกว่า 16,000 แห่ง ทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นน้องๆ จึงมั่นใจได้เลยว่าน้องๆ จะเจอหอพักที่ใช่และสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างแน่นอน

เลือกจ่ายหนี้กยศ.ในรูปแบบที่เหมาะสม

ในปัจจุบันนี้น้องๆ สามารถเลือกจ่ายหนี้กยศ. ได้ทั้งแบบรายเดือนและรายปี ซึ่งการจ่ายแต่ละรูปแบบก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป โดยเราจะขอสรุปแบบสั้นๆ ให้น้องๆ ได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นดังนี้...

การจ่ายหนี้กยศ.แบบรายเดือน

  • ข้อดี – วางแผนทางการเงินในแต่ละเดือนได้ง่าย ดูจ่ายไม่เยอะเพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นจำนวนเงินแค่หลักร้อยต่อเดือน
  • ข้อเสีย – ต้องเสียค่าธรรมเนียมในทุกๆ เดือน (แม้ว่าจะไม่ใช่จำนวนเงินที่เยอะก็ตาม)

การจ่ายหนี้กยศ.แบบรายปี

  • ข้อดี – ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
  • ข้อเสีย – จ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่ ซึ่งถ้าบางคนไม่ได้มีการวางแผนทางการเงิน อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินเอาได้

ช่องทางการจ่ายหนี้กยศ.

สำหรับช่องทางการจ่ายหนี้กยศ.นั้น ก็มีอยู่หลากหลายช่องทาง ซึ่งประกอบไปด้วย...

จ่ายผ่านธนาคารกรุงไทย

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ชำระหนี้edit-01_0.jpg
  • หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • จ่ายที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  • จ่ายที่ตู้ ATM
  • จ่ายผ่านเว็บไซต์ www.ktbnetbank.com
  • จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่น Krungthai Next
  • จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง

จ่ายผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ชำระหนี้edit-01_0.jpg
  • หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • จ่ายผ่านหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
  • จ่ายผ่านตู้ ATM

จ่ายหนี้กยศ.ด้วย QR Code ผ่านทาง Mobile Banking

การชำระเงินด้วยบาร์โคีด2-2-01.jpg
  1. ให้น้องๆ เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอพพลิเคชั่น “กยศ. Connect”
  2. เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking
  3. จากนั้นกดสแกนจ่าย
  4. เลือกภาพ QR Code ที่บันทึกไว้
  5. หลังจากนั้นก็กดชำระเงิน ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

จ่ายหนี้ กยศ. ด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode

การชำระเงินด้วยบาร์โคีด1-7-65-01.jpg

ให้น้องๆ นำ Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์/แอพพลิเคชั่น ไปจ่ายหนี้กยศ.ได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้...

  • ที่ทำการไปรษณีย์ไทย
  • ห้างสรรพสินค้า Big C
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกรุงศรี
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทยธนชาต
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์

จ่ายหนี้ กยศ. ด้วยการหักจากเงินเดือน

การชำระหนี้โดยการหักเงินเดือน2edit-01 ปรับ.jpg
  • ให้น้องๆ แจ้งเรื่องการขอหักหนี้กยศ.จากเงินเดือนให้นายจ้างทราบภายใน 30 วัน
  • จากนั้นให้นายจ้างหักเงินเดือนตามจำนวนที่กยศ. เพื่อชำระคืนกองทุนในทุกๆ เดือน

สำหรับการจ่ายหนี้กยศ.ไปด้วย จ่ายค่าหอพักไปด้วย มันคงจะไม่ใช่เรื่องยากเลย หากน้องๆ รู้จักวางแผนทางการเงินอย่างรัดกุม เงินเดือนเข้าปุ๊ป หักจ่ายปั๊ป มันก็คงจะช่วยทำให้การค้างชำระหนี้กยศ. ไม่เกิดขึ้นกับน้องๆ อย่างแน่นอน อีกทั้งการจ่ายหนี้กยศ.ให้ตรงเวลา นอกจากน้องๆ จะไม่ต้องเจอกับเบี้ยค่าปรับและปัญหาอื่นๆ แล้ว มันยังจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กๆ รุ่นหลังมีโอกาสที่จะขอกู้เรียนต่อเพิ่มขึ้นอีกด้วย (ฉะนั้นใครที่คิดจะเบี้ยวหนี้กศย. ก็ขอให้นึกถึงตอนที่เราจะขอกู้ไว้เยอะๆ ว่าเงินก้อนที่เรากู้ออกมานั้นมันสำคัญกับเราแค่ไหน) และไว้โอกาสหน้าทีมงาน Renthub จะนำข้อมูลอะไรมาฝากอีก น้องๆ ก็สามารถติดตามข้อมูลดีๆ สำหรับชาวหอพักได้ที่ Renthub Blog

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : https://www.studentloan.or.th

RELATED ARTICLES

แนะนำ 10 แอปฯ ที่คนอยู่หอพักต้องมีติดมือถือ!

แนะนำ 10 แอปฯ ที่คนอยู่หอพักต้องมีติดมือถือ!

การใช้ชีวิตในหอพักก็ง่ายขึ้นด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร ส่งของ Shopping ทำบัญชีส่วนตัว ดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งช่วยดูแลสุขภาพจิต ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน ฉะนั้นในวันนี้เราก็จะขอมาแนะนำ “10 แอปพลิเคชัน ที่คนอยู่หอต้องมีติดมือถือ”

โพสต์เมื่อ22 November 2024
รู้ก่อนเปลี่ยน! เอกสารสำคัญในการขอเปลี่ยนนามสกุล

รู้ก่อนเปลี่ยน! เอกสารสำคัญในการขอเปลี่ยนนามสกุล

หากกล่าวถึงการเปลี่ยนนามสกุลในยุคปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องง่าย ๆ หากเปรียบเทียบกับในอดีต แต่ความยุ่งยากของการเปลี่ยนนามสกุลจะอยู่ที่การดำเนินเรื่องเพื่อเปลี่ยนแปลงเอกสารสำคัญต่าง ๆ ในภายหลังเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนนามสกุลไม่ว่าจะเป็น เอกสารที่จำเป็น หลักเกณฑ์ ขั้นตอนการยื่นเรื่อง และรวมไปถึงเอกสารที่คุณจะต้องแจ้งเปลี่ยนนามสกุล

โพสต์เมื่อ20 November 2024

POPULAR ARTICLE

รวมลิสต์ของจำเป็นของเด็กหอ ย้ายหอใหม่แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

รวมลิสต์ของจำเป็นของเด็กหอ ย้ายหอใหม่แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

โพสต์เมื่อ18 May 2023
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram