Home Icon

วิธีคำนวณภาษี ฉบับเข้าใจง่ายสไตล์ First Jobber

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
07 November 2023
วิธีคำนวณภาษี ฉบับเข้าใจง่ายสไตล์ First Jobber

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์ก็ตาม ซึ่งการคำนวณภาษีสำหรับ First Jobber นั้นอาจจะดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้ยากอย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิด เพียงแต่ต้องเข้าใจในหลักการพื้นฐานก็จะสามารถคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้องแล้ว และในวันนี้เราก็จะมาแนะนำวิธีคำนวณภาษีแบบเข้าใจง่าย ๆ สไตล์ First Jobber กัน

เงินได้สุทธิ

สิ่งสำคัญอันดับแรกที่คุณจะต้องรู้ก่อนดำเนินการยื่นภาษีเลยก็คือ “เงินได้สุทธิ” ซึ่งวิธีการคำนวณเงินได้สุทธิก็คือ...

“เงินได้รวม – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนต่าง ๆ = เงินได้สุทธิ

  • เงินได้รวม = เงินเดือน + ค่าล่วงเวลา + ค่าคอมมิชชั่น + เงินปันผล + ดอกเบี้ย + อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่าย = ค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันชีวิต ค่าเล่าเรียน ค่าเช่าบ้าน ค่าลดหย่อนอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งค่าลดหย่อนในที่นี้คุณสามารถดูรายละเอียดตามข้อมูลด้านล่างได้เลย

ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท (สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ)
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส: 60,000 บาท (ต้องเป็นสามี-ภรรยาตามกฎหมาย โดยที่คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้แต่หากมีเงินได้ต้องยื่นภาษีร่วมกัน)
  • ค่าลดหย่อนบุตร: 30,000 บาท ต่อบุตร 1 คน (อายุตั้งแต่แรกเกิด – 20 ปี)
  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอดบุตร: สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา: 30,000 บาทต่อ 1 คน สามารถนับรวมบิดา-มารดาคู่สมรสได้ สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ: 60,000 บาทต่อคน (ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ)

ค่าลดหย่อนเกี่ยวกับการลงทุน

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., สงเคราะห์ครูเอกชน: 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 13,200 บาท
  • กองทุน RMF: 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุน SSF: 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนเกี่ยวกับประกันชีวิต

  • ประกันชีวิต, ประกันสะสมทรัพย์: ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 200,000 บาท และต้องเป็นประกันที่มีความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 9,000 บาท
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย: ลดหย่อนตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนเกี่ยวกับการบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป: ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อน
  • บริจาคเพื่อการศึกษา, การกีฬาม การพัฒนาสังคม/โรงพยาบาลของรัฐ: จะได้รับการลดหย่อนภาษี 2 เท่าของเงินบริจาค
  • บริจาคให้พรรคการเมือง ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท

ทั้งนี้หากเงินได้สุทธิของคุณไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี คุณจะได้รับการยกเว้นภาษี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหลังจากคำนวณแล้ว คุณมีรายได้สุทธิมากกว่า 150,001 บาท ต่อปีขึ้นไป คุณก็จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีตามข้อมูลด้านล่าง

  • เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท : ได้รับการยกเว้นภาษี
  • เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท : อัตราภาษี 15% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท : อัตราภาษี 20% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท : อัตราภาษี 25% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 30% ภาษีที่ต้องเสีย
  • เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท : อัตราภาษี 35% ภาษีที่ต้องเสีย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษีที่ First Jobber จะต้องเตรียมให้พร้อม

  • หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง(บริษัทส่วนใหญ่จะมีฝ่าย HR หรือฝ่ายบัญชีจะเป็นผู้จัดทำให้) ซึ่ง 50 ทวิ เป็นเอกสารที่จะระบุรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ เช่น ปีนั้นคุณมีรายได้รวม และมีเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมดเท่าไหร่ เป็นต้น
  • เอกสารลดหย่อนภาษี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพต่าง ๆ

ช่องทางการยื่นภาษี

  • กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องไปยื่นยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
  • กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
  • ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th (ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสะดวกและรวดเร็ว)

หากยื่นภาษีไม่ทันจะทำอย่างไรดี ?

หากคุณยื่นภาษีไม่ทันในระยะเวลาที่กำหนด คุณจำเป็นที่จะต้องนำเอกสารไปยื่นภาษีเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน โดยไม่สามารถยื่นเรื่องผ่านทางออนไลน์ได้ ทั้งนี้จะมีการปรับหรือบทลงโทษในกรณีที่คุณไม่ยื่นภาษีในระยะเวลาที่กำหนดดังต่อไปนี้

  • กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้ที่เป็น First Jobber ก็คงจะเข้าใจแล้วใช่ไหมล่ะว่าการยื่นภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไรเลย และที่สำคัญอย่าลืมที่จะยื่นภาษีในระยะเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะต้องเจอกับค่าปรับที่แสนโหดเอาได้ง่าย ๆ และไว้โอกาสหน้าทีมงาน Renthub จะนำข้อมูลดี ๆ อะไรมาฝากอีก คุณก็สามารถติดตามพวกเราได้ที่ Renthub Blog : บทความที่รวมทุก Lifestyle ของชาวหอพัก

RELATED ARTICLES

เพิ่มโอกาสคว้างานกับ 7 ความสามารถพิเศษที่ควรมี!

เพิ่มโอกาสคว้างานกับ 7 ความสามารถพิเศษที่ควรมี!

การแข่งขันในตลาดแรงงานปัจจุบันนับวันยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งความรู้และทักษะพื้นฐานเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ส่งผลให้ผู้สมัครงานจำเป็นที่จะต้องมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่น ๆ และสิ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นและมีโอกาสได้ทำงานที่ต้องการเลยก็คือ “ความสามารถพิเศษ” ที่จะช่วยดึงดูดความน่าสนใจจาก HR หรือเจ้าของธุรกิจ ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะพึ่งเริ่มต้นหางานหรือกำลังมองหาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การพัฒนาทักษะเพิ่มเติมคือกุญแจสำคัญที่จะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปสำรวจ 7 ความสามารถพิเศษที่จะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการคว้างาน

โพสต์เมื่อ06 December 2024
รวมสนามสอบ TGAT/TPAT สำหรับน้อง ๆ Dek68

รวมสนามสอบ TGAT/TPAT สำหรับน้อง ๆ Dek68

ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วกับช่วงเวลาที่น้อง ๆ Dek68 ต้องเตรียมตัวเข้าสู่สนามสอบ TGAT/TPAT ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญสู่รั้วมหาวิทยาลัย! ดังนั้นใครที่กำลังวางแผนหรือเริ่มรู้สึกตื่นเต้นบอกเลยว่าไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ ค่อย ๆ อ่านหนังสือและทบทวนเนื้อหาต่าง ๆ อย่างตั้งใจ พี่ก็เชื่อเหลือเกินค่ะว่าน้อง ๆ จะได้คะแนนออกมาดีอย่างแน่นอน และในวันนี้พี่ก็ได้รวบรวม “สนามสอบ TGAT/TPAT” ทั่วประเทศไทยมาฝากค่ะ เพื่อที่ว่าน้อง ๆ จะได้เลือกสนามสอบและเตรียมความพร้อมในเรื่องการเดินทาง ซึ่งถ้าพร้อมแล้ว เราไปพบกับสนามสอบ TGAT/TPAT ทั่วประเทศไทยสำหรับ Dek68 พร้อม ๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ06 December 2024

POPULAR ARTICLE

รวมลิสต์ของจำเป็นของเด็กหอ ย้ายหอใหม่แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

รวมลิสต์ของจำเป็นของเด็กหอ ย้ายหอใหม่แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

โพสต์เมื่อ18 May 2023
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram