สำหรับผู้ว่างงานหรือตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาเป็นฟรีแลนซ์แบบเต็มตัว บทความนี้ก็คงจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้อย่างแน่นอน เพราะว่าทางทีมงาน Renthub ได้นำวิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์ 2567 สำหรับผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 มาฝากนั่นเอง โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิ์นี้จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายสมทบเงินประกันมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนว่างงาน พร้อมกับการรายงานตัวว่างงานด้วยตัวเองหรือมอบอำนาจ เพื่อรับเงินชดเชยต่อเดือนตามฐานเงินเดือนและเงินสมทบที่จ่าย
เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคมออนไลน์ มาตรา33
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- วุฒิการศึกษา
- สถานะการออกจากงาน เลิกจ้าง หรือ ลาออก
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน สปส.2-01/7
- ไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
วิธีลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคมออนไลน์ มาตรา33 (เฉพาะผู้ใช้งานใหม่)
- กดเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th เมื่อหน้าเว็บไซต์โหลดเสร็จจะมีหน้าต่างขึ้น ให้คลิกที่ปุ่ม “ดำเนินการ” จากนั้นในกรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนให้คลิก “ลงทะเบียนเข้าใช้งาน” แล้วใส่เลขบัตรประชาชนและกำหนดรหัส แต่ในกรณีที่เคยลงทะเบียนแล้วให้ใส่เพียงเลขบัตรประชาชนและกดปุ่ม “เข้าสู่ระบบ”
- อ่านข้อตกลงต่างๆ จากนั้นคลิกยอมรับและคลิก “ขั้นตอนต่อไป” จากนั้นกรอกข้อมูลตามบัตรประชาชน คลิก “ตรวจสอบ”
- กรอกข้อมูลส่วนตัว แนบรูปถ่าย (ถ้ามี) คลิก “ลงทะเบียน”
- คลิก “ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน”
- จากนั้นยื่นเอกสารออนไลน์หรือส่งเอกสารไปที่สำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวก เอกสารประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- วุฒิการศึกษา
- สถานะการออกจากงาน เลิกจ้าง หรือ ลาออก
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน สปส.2-01/7
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน
เมื่อลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางานเรียบร้อยแล้ว จะต้องรายงานตัวว่างงานตามกำหนดได้ทาง http://empui.doe.go.th แต่หากไม่สะดวกตามวันเวลาที่กำหนด ก็ยังสามารถมารายงานตัวว่างงานได้ล่วงหน้าหรือหลังวันนัดไม่เกิน 7 วันโดยนับรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์และนักขัตฤกษ์ได้ในเว็บไซต์
*** ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถลงทะเบียนว่างงานผ่านออนไลน์ได้ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่กองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางาน โทร 02-2469292 หรือ สอบถามข้อมูลเบื้องต้น ที่สายด่วน 1506 กด 2 หรือ สำนักจัดหางานกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่/จังหวัด ***
ขั้นตอนการรายงานตัวคนว่างงานออนไลน์ (e-service)
หลังจากได้ลงทะเบียนว่างงานไปเรียบร้อยแล้ว ลำดับถัดไปก็จะเป็นการรายงานตัวคนว่างงาน เพื่อขอรับเงินชดเชยซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
- กดเข้าสู่เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th
- กดเข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป
- ทำการ Log In โดยการใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน และ Password
- กดยินยอมให้ใช้ข้อมูล
- เลือกขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
- กดเมนูขึ้นทะเบียนคนว่างงาน
- กรอกข้อมูลต่าง ๆ และกดรายงานตัว ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
วิธีเช็คเงินว่างงานประกันสังคม มาตรา33
สำหรับวิธีเช็คเงินว่างงานประกันสังคม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
แอปพลิเคชัน SSO Connect
- เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ "การเบิกสิทธิประโยชน์"
- ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ
เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
- ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ "ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย"
- จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ
หลังรายงานตัวแล้ว ต้องรอกี่วันถึงจะได้รับเงิน ?
หากเตรียมเอกสารต่างๆ ครบถ้วน ไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ หลังจากทำการรายงานตัวว่างงานเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ได้ให้ข้อมูลไว้ไม่เกิน 7-15 วันทำการ ไม่นับรวมวันหยุดสุดสัปดาห์
การลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินเท่าไหร่ ?
การลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อรอบปฏิทิน
เช่น ค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน
เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้นจะได้รับเงินตั้งแต่ 150 - 13,500 บาท (คำนวณคร่าวๆ)
- ว่างงาน 1 วัน ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
- ว่างงาน 7 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
- ว่างงาน 15 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
- ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
- ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
- ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท
การถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 180 วันต่อรอบปฏิทิน
เช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน
เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250 - 45,000 บาท (คำนวณคร่าวๆ)
- ถูกเลิกจ้าง 30 วัน ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 60 วัน ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 90 วัน ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 120 วัน ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 150 วัน ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 180 วัน ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท
หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราต้องลงทะเบียนว่างงานด้วย ? คำตอบง่าย ๆ เลยก็คือ เพื่อรักษาสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่จะได้รับเงินชดเชยหลังจากที่ได้จ่ายประกันสังคมมาก่อนหน้าในทุกเดือนนั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นการยืนยันสถานะการว่างงานของตนเองในระบบแรงงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรากำลังว่างงานและมองหางานใหม่อยู่ ทั้งนี้ในระบบก็จะมีการแนะนำงานที่น่าสนใจและช่องทางการสมัครงานเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับคุณอีกด้วย และไว้โอกาสหน้าทีมงานจะนำข้อมูลอะไรดี ๆ แบบนี้มาฝากอีก คุณก็สามารถติดตามได้ที่ Renthub Blog : บทความที่รวมทุกเรื่องราวของชาวหอพัก
ดาวน์โหลด Renthub App เพื่อให้การค้นหาหอพักของคุณเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้วได้ที่ > คลิก (รองรับทั้งระบบ IOS และ Android)