Home Icon

สอบ ก.พ. คืออะไร ? อยากทำงานราชการต้องรู้

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
22 May 2025
สอบ ก.พ. คืออะไร ? อยากทำงานราชการต้องรู้

 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะมีอาชีพที่มั่นคง รายได้แน่นอนและสวัสดิการดีเยี่ยม “การรับราชการ” คงน่าจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในใจ และหนึ่งในด่านสำคัญที่หลาย ๆ คนต้องเผชิญก่อนจะได้เข้าทำงานราชการ ก็คือ “การสอบ ก.พ.” ซึ่งคำนี้อาจฟังดูคุ้น ๆ แต่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจชัดว่า การสอบ ก.พ. คืออะไร ? ซึ่งในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “การสอบ ก.พ.” แบบเจาะลึกแต่เข้าใจง่าย และตอบโจทย์สำหรับคนที่กำลังวางแผนเข้าสู่เส้นทางราชการ

 

สอบ ก.พ. คืออะไร ?

คำว่า “ก.พ.” ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการ ให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และก็รวมไปถึงการจัดสอบ ก.พ. ดังนั้นการสอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการ ที่จะทดสอบวัดความรู้และศักยภาพพื้นฐานของผู้ที่มีความประสงค์จะเข้ารับราชการในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเสมือน “ใบเบิกทาง” สำคัญ ที่จะทำให้คุณมีสิทธิ์สมัครงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของราชการนั่นเอง ทั้งนี้การสอบ ก.พ.จะมีการจัดสอบทุกปี และมีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ Paper & Pencil (สอบแบบกาข้อสอบในกระดาษ) และ e-Exam (สอบในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์)

 

สอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรในการสมัคร ?

การสอบ ก.พ. จะแบ่งตามระดับวุฒิการศึกษา ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับหลัก ๆ ดังนี้

  • ระดับ 1 : ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • ระดับ 2 : ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ระดับ 3 : วุฒิปริญญาตรี (ระดับที่มีคนสมัครมากที่สุด)
  • ระดับ 4 : วุฒิปริญญาโท

ซึ่งผู้สมัครจะต้องจบตามวุฒิที่ระบุไว้ และสอบ ก.พ. ภาค ก ตามระดับวุฒินั้น ๆ โดยข้อสอบจะมีความยากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับวุฒิการศึกษา

 

คุณสมบัติและอายุของผู้เข้าสอบ ก.พ.

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (ไม่กำหนดอายุสูงสุด)
  • ต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท
  • ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

 

การสอบ ก.พ. แบ่งออกเป็นกี่ภาค ?

สำหรับการสอบ ก.พ. จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

ภาค ก  การทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป

  1. ความรู้ความสามารถทั่วไปด้านการคิดและวิเคราะห์(คณิตและภาษาไทย)
  2. ภาษาอังกฤษ
  3. ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (กฎหมาย กพ)

ภาค ข การทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

คือการสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งที่ผู้สมัครต้องการเข้าทำงาน โดยข้อสอบจะออกตามลักษณะงานในแต่ละตำแหน่ง เช่น หากสมัครตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ก็จะมีข้อสอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี งบประมาณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสอบภาค ข มักจัดโดยหน่วยงานที่เปิดรับสมัครเอง และถือเป็นด่านสำคัญที่จะคัดเลือกผู้มีความรู้ตรงกับงานจริงเข้าทำงานในระบบราชการต่อไป และที่สำคัญผู้สมัครสอบจะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. มายืนยันก่อนจึงจะสามารถสมัครสอบ ภาค ข ได้

ภาค ค การสอบสัมภาษณ์

คือการสอบสัมภาษณ์ที่ใช้วัดความเหมาะสมของผู้สมัครกับตำแหน่งงานในด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งที่สมัคร โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้สัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในหน่วยงานราชการ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการบรรจุเข้ารับราชการอย่างเป็นทางการ และที่สำคัญผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อน

 

สอบ ก.พ. ภาค ก มีแบบไหนบ้าง ?

  • สอบ ก.พ. ภาค ก แบบ Paper & Pencil (รอบปกติ) : สอบ ก.พ. ภาคปกติสำหรับผู้สนใจทั่วไป เป็นการทำข้อสอบด้วยการฝนกระดาษคำตอบ
  • สอบ ก.พ. ภาค ก แบบ e-Exam : สอบ ก.พ. e-exam คือการสอบสำหรับบุคคลทั่วไป แต่จะทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ และเปิดรับสมัครคนละรอบกับ Paper & Pencil
  • สอบ ก.พ. ภาค ก พิเศษ : สอบก.พ. ภาค ก พิเศษ คือ การสอบ ก.พ. ที่จัดขึ้นพิเศษสำหรับบุคลากรในหน่วยงานราชการที่ยังสอบ ก.พ. ไม่ผ่าน

 

สอบ ก.พ. สามารถทำงานอะไรได้บ้าง ?

การสอบ ก.พ. สามารถเปิดประตูสู่โอกาสในการทำงานในสายงานราชการได้หลากหลายมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับวุฒิการศึกษาและตำแหน่งที่เปิดสอบในแต่ละปี โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่สอบผ่าน ก.พ. ภาค ก จะสามารถสมัครเข้ารับราชการในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่เป็น “สายงานทั่วไป” และ “สายงานวิชาการ” ที่มีการระบุว่า ต้องสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก ก่อน

งานที่สามารถทำได้หลังสอบผ่าน ก.พ.

1. ข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานรัฐ

เมื่อสอบผ่าน ก.พ. คุณสามารถสมัครเป็นข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เช่น

  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงพาณิชย์
  • กรมสรรพากร
  • กรมบัญชีกลาง
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • กรมการปกครอง

โดยตำแหน่งยอดนิยม เช่น เจ้าพนักงานธุรการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา นักจัดการงานทั่วไป ฯลฯ

2. เจ้าหน้าที่ในสำนักงานต่าง ๆ ของรัฐ

เช่น

  • สำนักงาน ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)
  • สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  • สำนักงานปลัดกระทรวงต่าง ๆ
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

3. งานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

เช่น อบต. เทศบาล อบจ. บางตำแหน่งในองค์กรเหล่านี้ก็ใช้ผลสอบ ก.พ. ประกอบการสมัครด้วย

4. รัฐวิสาหกิจบางแห่ง (เฉพาะบางตำแหน่ง)

บางรัฐวิสาหกิจ เช่น

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • ธนาคารของรัฐบางแห่ง เช่น ธ.ก.ส. หรือ ธอส.

อาจกำหนดว่าผู้สมัครต้องสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก หากสมัครในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั่วไป หรืองานด้านนโยบาย

5. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ

เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ก็อาจเปิดสอบตำแหน่งที่ใช้ผล ก.พ. ประกอบด้วย

 

การสอบผ่าน ก.พ. ไม่ใช่การ “สอบเข้าเป็นข้าราชการโดยตรง” แต่เป็นเพียง “ใบเบิกทาง” ที่แสดงว่าคุณมีคุณสมบัติพื้นฐานพร้อมสำหรับการทำงานในระบบราชการ หากต้องการเข้าทำงานในตำแหน่งใด จะต้องไป “สมัครสอบตำแหน่งนั้น ๆ” ในรอบที่หน่วยงานต่าง ๆ เปิดสอบจริง (เรียกว่าการสอบภาค ข และ ค)

 

สอบ ก.พ. ได้กี่ครั้ง ? ผลคะแนนมีอายุกี่ปี ?

สำหรับการสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดจำนวนครั้ง สามารถสมัครได้ทุกปี และผลการสอบไม่มีวันหมดอายุ

 

สอบ ก.พ. ได้ถึงอายุเท่าไหร่ ?

การสอบ ก.พ. ไม่มีการจำกัดอายุ

 

ควรแต่งตัวแบบไหนไปสอบ ก.พ. ?

การสอบ ก.พ. ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพ เรียบร้อยและเหมาะสมกับสถานที่ราชการ ผู้เข้าสอบมักนิยมสวมเสื้อเชิ้ตสีสุภาพ กางเกงหรือกระโปรงขายาวสีเข้ม รองเท้าหุ้มส้น หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ ขาสั้น หรือรองเท้าแตะ เพราะอาจถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสม และบางสนามสอบอาจปฏิเสธไม่ให้เข้าสอบหากแต่งกายไม่ตามระเบียบ

 

การสอบ ก.พ. คือ “ด่านแรก” ที่ทุกคนที่อยากเข้าทำงานราชการต้องผ่านให้ได้ ไม่ว่าคุณจะอยากเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ข้าราชการพลเรือน หรือแม้แต่ทำงานในรัฐวิสาหกิจบางแห่ง การมีใบผ่าน ก.พ. จะทำให้คุณมีความพร้อม และเพิ่มโอกาสในการสมัครสอบได้หลากหลายหน่วยงานมากยิ่งขึ้น

 

และสำหรับใครที่กำลังมองหาที่พักรายวันและรายเดือนใกล้หน่วยงานราชการต่าง ๆ คุณก็สามารถเข้าไปค้นหาได้ที่ Renthub เว็บไซต์ค้นหาหอพักอพาร์ทเม้นท์อันดับ 1 ของประเทศไทย หรือดาวน์โหลด Renthub App เพื่อให้การค้นหาหอพักเป็นเรื่องง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว (รองรับทั้งระบบ IOS และ Android)

RELATED ARTICLES

รวม 20 เรื่องหลอนล้านวิว! จาก The Ghost ที่ชาวหอฯ ห้ามพลาด

รวม 20 เรื่องหลอนล้านวิว! จาก The Ghost ที่ชาวหอฯ ห้ามพลาด

สำหรับใครที่ชอบฟังอะไรหลอน ๆ ให้หัวใจเต้นแรงยิ่งกว่าอ่านบิลค่าไฟปลายเดือน วันนี้เราก็รวมมาให้แล้วกับ 20 เรื่องผีสุดหลอนยอดวิวทะลุล้านจาก The Ghost Radio ที่สายฟังผีห้ามพลาด ซึ่งแต่ละเรื่องขอบอกเลยว่า ฟังแล้วอารมณ์มาเต็ม เหมือนนั่งอยู่ในเหตุการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิญญาณผีในหอพักวิญญาณผีข้างห้อง หรือ เรื่องราวสุดเล้นลับที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปพบกับ 20 เรื่องหลอน 2,000,000+ วิว จาก The Ghost Radio ที่เราได้รวบรวมมาฝากชาวหอฯ พร้อม ๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ22 May 2025
สอบ ก.พ. คืออะไร ? อยากทำงานราชการต้องรู้

สอบ ก.พ. คืออะไร ? อยากทำงานราชการต้องรู้

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะมีอาชีพที่มั่นคง รายได้แน่นอนและสวัสดิการดีเยี่ยม “การรับราชการ” คงน่าจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในใจ และหนึ่งในด่านสำคัญที่หลาย ๆ คนต้องเผชิญก่อนจะได้เข้าทำงานราชการ ก็คือ “การสอบ ก.พ.” ซึ่งคำนี้อาจฟังดูคุ้น ๆ แต่หลายคนก็ยังไม่เข้าใจชัดว่า การสอบ ก.พ. คืออะไร ? ซึ่งในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “การสอบ ก.พ.” แบบเจาะลึกแต่เข้าใจง่าย และตอบโจทย์สำหรับคนที่กำลังวางแผนเข้าสู่เส้นทางราชการ

โพสต์เมื่อ22 May 2025

POPULAR ARTICLE

รวมลิสต์ของจำเป็นของเด็กหอ ย้ายหอใหม่แล้วต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram