สำหรับใครที่ยังสงสัยอยู่ว่า ภาษีลาภลอยคืออะไร ? ทำไมในช่วงที่ผ่านมาสำนักข่าวหลายๆ เจ้า ถึงได้กล่าวถึงภาษีลอยกันเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับคำว่า “ภาษีลาภลอย” กัน รับรองเลยคุณจะเข้าใจและรู้จักกับเจ้าคำๆ นี้ได้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน!
“ภาษีลาภลอย” คืออะไรนะ ?
ภาษีลาภลอย (Windfall Tax) คือ ที่ดินที่มีโครงการของทางภาครัฐตัดผ่าน อาทิเช่น ทางด่วน สนามบิน รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ท่าเรือ ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้ที่ดินบริเวณนั้นมีมูลค่าที่สูงขึ้น และแน่นอนว่าผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นจะได้รับผลประโยชน์จากโครงการที่ภาครัฐได้ลงทุนไป แต่! ทางภาครัฐกลับไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากมูลค่าที่สูงขึ้นได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดคำว่า “ภาษีลาภลอย” ขึ้นมา เพื่อที่จะได้ทำการเก็บภาษีจากมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นและเป็นการแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งให้กับภาครัฐในการพัฒนาประเทศต่อไป
ตัวอย่าง
เมื่อก่อนที่ดินในย่านมีนบุรี มีมูลค่า 20,000 บาท/ตร.ม. และเมื่อทางภาครัฐประกาศสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ก็จะส่งผลให้มูลค่าของที่ดินในย่านมีนบุรีเพิ่มขึ้นมา เป็น 50,000 บาท/ตร.ม. เป็นต้น
ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีลาภลอย ยังถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐอีกด้วย
แต่! ในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้มีการเรียกเก็บภาษีลาภลอย เนื่องจากในช่วงกลางปี พ.ศ.2561 ได้มีการยกร่างกฎหมายขึ้นมาแล้ว และทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการร่างกฎหมาย แต่! ยังไม่ได้รับการสานต่อ ส่งผลให้กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะกลับมาผลักดันกฎหมายภาษีลาภลอย (Windfall Tax) อีกครั้ง (อัพเดต ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2565) ทั้งนี้การที่จะเรียกเก็บภาษีลาภลอยนั้น จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในเรื่องของความเหมาะสม ระยะเวลา และที่สำคัญคือต้องสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนทุกคน
ประโยชน์ของภาษีลาภลอย
เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับทางภาครัฐ เพื่อใช้สำหรับพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในด้านคมนาคมต่อไป
สร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี
สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ
แนวทางการจัดเก็บภาษีลาภลอย
สำหรับแนวทางในการจัดเก็บภาษีลาภลอย จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณี ประกอบไปด้วย
1.เก็บระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการพื้นฐานของรัฐ
1.1หากมีการขาย โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือห้องชุดในช่วงที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างจะถูกเรียกเก็บภาษีลาภลอยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนมือ
1.2การเก็บภาษีลาภลอยนั้นจะเก็บเฉพาะในส่วนของมูลค่าของที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะใช้ราคาที่กรมธนารักษ์รับที่ดินแปลงนั้นๆมา บวกกับราคาประเมินในช่วงที่ระหว่างก่อสร้าง
2.เก็บเมื่อมีการซื้อขายที่ดิน ห้องชุด โดยกรมที่ดินเป็นผู้จัดเก็บ
2.1จะมีการเก็บภาษีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นไม่ได้จัดเก็บทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนมือ
2.2ภาครัฐจะเก็บภาษีลาภลอยจากที่ดิน หรือ ห้องชุดเฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป และ ห้องชุดของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่รอจำหน่าย ซึ่งอยู่ในรัศมีที่ทางภาครัฐได้กำหนด
2.3หากที่ดินมีมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท จะไม่มีการเก็บภาษีลาภลอย
โครงการพัฒนาของภาครัฐที่เข้าข่ายต้องจัดเก็บภาษีลาภลอย
รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบสถานี)
ท่าเรือ (พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตที่ดินของท่าเรือ)
โครงการทางด่วนพิเศษ (พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบทางขึ้นและทางลง)
สนามบิน (พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตห้ามก่อสร้างของสนามบิน)
เพดานอัตราการเก็บภาษีลาภลอย
ข้อยกเว้นในการเรียกเก็บภาษีลาภลอย
ที่อยู่อาศัย
พื้นที่เกษตรกรรม
ที่ดินที่เป็นมรดกตกทอด
รายละเอียดข้างต้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “ภาษีลาภลอย” ที่ทางทีมงาน Renthub ได้นำมาฝาก และเราหวังว่าข้อมูลดังกล่าวคงจะทำให้คุณได้รู้จักและเข้าใจกับบริบทของภาษีลาภลอยได้มากยิ่งขึ้น!