Renthub Logo
Home Icon

PDPA มีความสำคัญต่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์หรือไม่ ?

BY
Renthub Editorial Team
โพสต์เมื่อ
06 June 2022
PDPA มีความสำคัญต่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์หรือไม่ ?

เมื่อพูดถึง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่หลายคนคงคุ้นหูกันในช่วงนี้อย่าง PDPA ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 นี้ หลายธุรกิจอาจเริ่มมีการขยับตัวกันบ้างแล้ว ส่วนธุรกิจห้องพัก ไม่ว่าจะเป็นหอพัก อพาร์ทเม้นท์ เซอร์วิชอพาร์ทเม้นท์ รวมถึงธุรกิจโรงแรม จำเป็นต้องศึกษาไว้หรือจะต้องใส่ใจในเรื่องนี้หรือไม่ วันนี้ Renthub ขอมาให้ข้อมูลในมุมมองของผู้ประกอบการกันว่าธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่นั้น ต้องให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มากน้อยเพียงใด แต่ก่อนอื่นที่จะไปเข้าเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เราไปทำความรู้จักกันก่อนค่ะว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) คืออะไร

PDPA คืออะไร?

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือที่เรารู้จักกันเลยก็คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เอกชนและรัฐที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทย ตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว

ข้อมูลบุคคลที่ระบุตัวตนมีอะไรบ้าง? 

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เจ้าของธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์มีข้อมูลในส่วนนี้อยู่ในมือเลยก็คือ

  • ชื่อ - นามสกุล
  • ที่อยู่ปัจจุบัน หรือที่อยู่ตามบัตรประชาชน
  • อีเมล
  • เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขใบอนุญาตขับขี่
  • วันเดือนปีเกิด
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • เชื้อชาติ / ศาสนา 
  • ทะเบียนรถ
renthub-PDPA-rental-application-form.png

PDPA มีความสำคัญต่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ หรือไม่? 

PDPA มีความสำคัญต่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ของเราอย่างไร จริงๆ แล้วสาระสำคัญของ พรบ.ฉบับนี้ คือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในทางที่ผิดเงื่อนไขหรือผิดวัตถุประสงค์ ยกตัวอย่าง เช่น ก่อนที่ผู้เช่าจะย้ายเข้าหอพัก อพาร์ทเม้นท์ จะต้องทำการจองห้องพัก หรือเริ่มทำสัญญาเช่า และวางเงินมัดจำก่อน และการทำสัญญาเช่านั่นเองที่เป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของหอพักจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารสำคัญของผู้เช่า ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และเอกสารอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วแต่หอพัก เป็นต้น ซึ่งถ้าหากมีการนำสำเนาบัตรประชาชนที่ผู้เช่าได้ทำการมอบให้กับผู้ให้เช่าเพื่อใช้ในการทำสัญญาเช่าห้องพักไปใช้ทำอย่างอื่น นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า นั่นแหละ! จะถือว่ามีความผิด

ต้องทำอย่างไรกับข้อมูลที่มีการเก็บไว้ก่อนวันที่ PDPA มีผลบังคับใช้ ? 

ผู้เก็บข้อมูล สามารถเก็บหรือใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์เดิมได้ แต่ต้องกำหนดวิธีการยกเลิกความยินยอม และประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบ

หลังจากเริ่มมีการบังคับใช้ PDPA ต้องเก็บข้อมูลใหม่อย่างไร​ ? 

แนวทางในการจัดเก็บข้อมูล หลังจากเริ่มมีการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เจ้าของหอพัก อพาร์ทเม้นท์ จะต้องเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ทำการย้ายเข้ามาใหม่ ดังนี้

  1. ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน เช่น การทำเอกสารสัญญาให้ความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้เพื่อใช้ประกอบสัญญาเช่าห้องเท่านั้น เป็นต้น
  2. ผู้เก็บข้อมูลต้องทำการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลอย่างชัดเจน 
  3. ต้องรักษาข้อมูลเป็นความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เช่าโดยมิชอบ 
  4. ห้ามใช้ข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เช่าห้องพัก หอพัก อพาร์ทเม้นท์ โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ได้รับความยินยอมแล้วเท่านั้น 

ในกรณียกเว้นที่สามารถใช้ข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ยกตัวอย่างเช่น การนำข้อมูลนั้นไปใช้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้าของข้อมูลได้ทำไว้ และเพื่อใช้ตามกฎหมาย เช่น การส่งข้อมูลแก่สรรพากร หรือคำสั่งศาล เป็นต้น

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ อีกมากมายที่ Renthub ไม่อาจอธิบายทั้งหมดได้ ผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ทุกท่านสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลหรืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) นี้ได้ ส่วนเว็บไซต์ Renthub เอง เราก็มีนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานเว็บไซต์เช่นกัน ผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์ และมีประกาศห้องพักอยู่แล้วสามารถเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) นี้ได้โดยไม่ต้องกังวลใจนะคะ

หากผู้ประกอบการท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อทีม Support ของ Renthub ได้โดยตรง หรือถ้าหากผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ที่ยังไม่มีประกาศหอพัก ก็สามารถเลือกใช้งานเว็บไซต์ Renthub ได้ สมัครสมาชิกและลงประกาศฟรีที่ Renthub.in.th

ที่มา: ratchakitcha

RELATED ARTICLES

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

ในช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คน คงจะเห็นประเด็นข่าวอันร้อนแรงเกี่ยวกับการ “ครอบครองปรปักษ์” กันมาบ้างแล้ว จนเป็นเหตุให้คำ ๆ นี้ ได้กลายเป็นคำค้นหาที่ติดอันดับใน Google ว่าการครอบครองปรปักษ์คืออะไร ? มีหลักเกณฑ์มีข้อบังคับหรือมีข้อเกี่ยวข้องกับทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ? ซึ่งอันดับแรกเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่คนไทยทุกคนควรจะต้องทำความเข้าใจและรับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ เพื่อที่จะได้รักษากรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของอสังหาฯ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาในอนาคต และในวันนี้ทีมงาน Renthub จึงจะขอมาสรุปใจความสำคัญของ “การครอบครองปรปักษ์” ในแบบฉบับที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ให้คุณได้อ่านกัน

โพสต์เมื่อ04 April 2024
เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่คิดว่าการเช็คราคาประเมินที่ดินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เราก็คงจะต้องขอบอกเลยว่าคุณคิด “ผิด” เพราะในปัจจุบันนี้กรมธนารักษ์และกรมที่ดินได้เปิดให้ประชาชนสามารถเช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินให้เสียเวลาเหมือนในอดีต อีกทั้งเจ้าของหอพักหรือผู้ที่กำลังมองหาทำเลเพื่อสร้างหอพักอพาร์ทเม้นท์คุณก็สามารถเช็คราคาประเมินที่ดินได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้...

โพสต์เมื่อ09 February 2024

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2019, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram