Renthub Logo
Home Icon

อัปเดต "ภาษีธุรกิจให้เช่าหอพักอพาร์ทเม้นท์" ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
21 January 2024
อัปเดต "ภาษีธุรกิจให้เช่าหอพักอพาร์ทเม้นท์" ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

สำหรับในบทความนี้ทางทีมงาน Renthub ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับภาษีธุรกิจการให้เช่าหอพัก/อพาร์ทเม้นท์ที่ต้องรู้มาฝาก เพื่อให้เจ้าของหอพักอพาร์ทเม้นท์หรือผู้ที่มีแพลนจะเปิดกิจการหอพักอพาร์ทเม้นท์ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีของธุรกิจประเภทนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลทั้งหมดทีมงานฯ ได้นำมาจาก “กองกฎหมาย กรมสรรพากร” และถ้าพร้อมแล้ว เราไปพบกับ “ภาษีธุรกิจให้เช่าอพาร์ทเม้นท์ที่ผู้ประกอบการต้องรู้” พร้อม ๆ กันเลย

ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งวิธีการคำนวณเงินได้สุทธิจะคำนวณจากเงินทั้งหมดที่รับ ประกอบไปด้วย

  • วิธีที่ 1 (รายได้ค่าเช่า – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี : โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เป็นการเหมาร้อยละ 30 หรือมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็สามารถหักได้ตามจำเป็นและสมควร
  • วิธีที่ 2 รายได้ x 0.5% : ในกรณีที่รายได้จากการให้เช่าและรายได้อื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน รวมกันมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท/ปี

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทั้ง 2 แบบ แบบใดมีภาษีที่ต้องชำระสูงกว่า ให้ผู้ประกอบการเลือกเสียภาษีแบบนั้นเป็นหลัก

ผู้มีเงินได้ต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ (ถ้ามี) และนำไปยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน) ซึ่งเรียกว่า ภ.ง.ด 94 ต้องชำระภายในเดือนกันยายน และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำ (ภ.ง.ด. 90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยภาษีที่ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด. 94 แล้ว ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบแสดงรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด 90 ได้

ในกรณีที่ผู้ให้เช่ามีเงินได้จากค่าเช่าหลายสัญญา จะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาบางสัญญาหรือตามความจำเป็นและสมควรบางสัญญาไม่ได้ (กค 0702/4282 ลว.23 เมษายน 2558)

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในรูปบบของนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะต้องมีการจัดทำบัญชีและงบการเงินตามมาตรฐานบัญชี ผู้ประกอบการจะเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ที่คำนวณได้จาก...

วิธีคำนวณ : รายได้ - รายจ่าย x อัตราภาษี

ซึ่งอัตราภาษี หากเป็นนิติบุคคลทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 20 และสำหรับนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนฯ ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท (SME) จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก และลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท สูงสุดไม่เกินร้อยละ 20

ในกรณีนิติบุคคลให้บริการเช่าห้องพัก จะคิดราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่มีการให้บริการได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร (กค 0706/2296 ลว. 17 มีนาคม 2549)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยปกติการให้เช่าที่พักอาศัยจะเป็นสัญญาการเช่ารายเดือนหรือรายปี โดยผู้ให้เช่าส่งมอบการครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ซึ่งถือเป็นเงินได้จากการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าหากให้เช่าที่พักอาศัยนั้นได้มีการคิดค่าบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ หรือการให้บริการสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า ฯลฯ ก็จะถือเป็นการให้บริการหรือการขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้ในส่วนนี้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี รวมไปถึงกรณีที่ผู้ประกอบการให้เช่าในรูปแบบรายวันและมีบริการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้จาก คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542)

ในกรณีที่ผู้ประกอบการให้เช่าที่พักอาศัยในลักษณะทำนองเดียวกันกับโรงแรม (Serviced apartment) โดยบริษัทฯ ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม เป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร (กค 0706/พ./1706 ลว. 19 กุมภาพันธ์ 2546)

อากรแสตมป์

การทำสัญญาเช่า ถือเป็นการทำตราสารตามประมวลรัษฎากร ผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 1 บาท ต่อทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งค่าเช่าตลอดอายุสัญญาการเช่า ถ้าสัญญาเช่าไม่กำหนดอายุสัญญาเช่าถือเป็นการเช่า 3 ปี

: ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองกฎหมาย กรมสรรพากร

ทางทีมงาน Renthub ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุก ๆ เจ้าของหอพักอพาร์ทเม้นท์จะได้รับประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของภาษีจากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ซึ่งไม่ว่าคุณจะพึ่งเปิดกิจการหอพักอพาร์ทเม้นท์หรือเปิดให้บริการมานานแล้ว การศึกษาเรื่องภาษีจะช่วยทำให้การดำเนินกิจการเป็นไปได้อย่างราบรื่นและไม่มีปัญหาต่าง ๆ ตามมากวนใจในภายหลัง อีกทั้งเจ้าของหอพักอพาร์ทเม้นท์ท่านใดที่ต้องการปล่อยห้องว่าง ต้องการให้หอพักของคุณเข้าถึงกลุ่มผู้เช่าได้มากขึ้น คุณก็สามารถมาลงประกาศได้ฟรีที่เว็บไซต์ Renthub เว็บไซต์ค้นหาหอพักอันดับ 1 ของประเทศไทย

RELATED ARTICLES

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

ในช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คน คงจะเห็นประเด็นข่าวอันร้อนแรงเกี่ยวกับการ “ครอบครองปรปักษ์” กันมาบ้างแล้ว จนเป็นเหตุให้คำ ๆ นี้ ได้กลายเป็นคำค้นหาที่ติดอันดับใน Google ว่าการครอบครองปรปักษ์คืออะไร ? มีหลักเกณฑ์มีข้อบังคับหรือมีข้อเกี่ยวข้องกับทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ? ซึ่งอันดับแรกเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่คนไทยทุกคนควรจะต้องทำความเข้าใจและรับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ เพื่อที่จะได้รักษากรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของอสังหาฯ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาในอนาคต และในวันนี้ทีมงาน Renthub จึงจะขอมาสรุปใจความสำคัญของ “การครอบครองปรปักษ์” ในแบบฉบับที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ให้คุณได้อ่านกัน

โพสต์เมื่อ04 April 2024
เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่คิดว่าการเช็คราคาประเมินที่ดินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เราก็คงจะต้องขอบอกเลยว่าคุณคิด “ผิด” เพราะในปัจจุบันนี้กรมธนารักษ์และกรมที่ดินได้เปิดให้ประชาชนสามารถเช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินให้เสียเวลาเหมือนในอดีต อีกทั้งเจ้าของหอพักหรือผู้ที่กำลังมองหาทำเลเพื่อสร้างหอพักอพาร์ทเม้นท์คุณก็สามารถเช็คราคาประเมินที่ดินได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้...

โพสต์เมื่อ09 February 2024

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2019, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram