Renthub Logo
Home Icon

สิทธิเก็บกิน เรื่องต้องรู้ของผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ หากต้องการลดภาษี

BY
Renthub Editorial Team
โพสต์เมื่อ
27 October 2020
สิทธิเก็บกิน เรื่องต้องรู้ของผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ หากต้องการลดภาษี

ในฐานะของผู้ประกอบการอพาร์ทเม้นท์ เรื่องรายได้และรายจ่ายทุกประเภทจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของภาษีที่หลาย ๆ คนมีฐานรายรับที่สูง ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการให้เช่าหอพัก แต่พอหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกไปแล้ว และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากกว่าปกติตามอัตราขั้นบันไดแบบก้าวหน้า เรื่องนี้จริง ๆ แล้วมีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิเก็บกิน” (บางคนจะเรียก “ภาษีเก็บกิน” แต่ชื่อดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่) คล้ายกับเป็นตัวช่วยเพื่อแบ่งเบาภาระทางด้านภาษีให้น้อยลง Renthub จึงอยากแนะนำสำหรับคนที่กำลังเจอปัญหาดังกล่าวได้เข้าใจถึงวิธีที่ถูกต้อง

สิทธิเก็บกิน คืออะไร ?

จริง ๆ แล้วขออธิบายให้เข้าใจแบบง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน คือ การแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการครอบครองพื้นที่เพื่อที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน หรือได้ผลประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว โดยมีการจดทะเบียนสิทธิทำกินให้กับอีกบุคคลหนึ่ง (เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ) ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อนำรายได้ส่วนนี้ให้กับคนที่รับสิทธิ (ส่วนใหญ่บุคคลดังกล่าวมักมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ภาษีเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียในอัตราขั้นต่ำ และควรเป็นทายาท ญาติพี่น้อง หรือคนที่ไว้ใจกัน) เท่ากับว่าเมื่อมีการทำขั้นตอนดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รายได้ก็จะตกอยู่ในชื่อของบุคคลที่มีสิทธินั้น ๆ

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่การโอนสิทธิในการได้รับผลประโยชน์ให้กับอีกฝ่ายเท่านั้นแต่ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในการครอบครอง เท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิสามารถรับประโยชน์ต่าง ๆ จากพื้นที่ดังกล่าวได้ อาทิ ค่าเช่า, การเข้าอยู่อาศัย แต่จะไม่สามารถนำเอาที่ดินไปขายเพื่อผลประโยชน์ของตนเองได้เนื่องจากสิทธิการขายยังคงเป็นของผู้ให้สิทธิเก็บกินเหมือนเดิม สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ด้วยทางกฎหมายมองว่าหากมีการจดสิทธิเก็บกินให้กับคนอื่น แล้วปรากฏว่าผู้ทรงสิทธินำไปขาย หรือไม่ให้อยู่อาศัยแล้วจะทำให้เกิดความยากลำบากกับเจ้าของพื้นที่ตัวจริงนั่นเอง

ขั้นตอนเบื้องต้นของการจดสิทธิเก็บกินต้องทำอย่างไรบ้าง ?

ขั้นตอนง่าย ๆ คือ การทำหนังสือจดทะเบียนสิทธิเก็บกินกับเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน โดยมีคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายรวมอยู่ด้วย (แบบเดียวกับการจดทะเบียนด้านทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ) โดยระยะเวลาขึ้นอยู่กับที่กำหนดเอาไว้ เช่น 5 ปี, 10 ปี หรือตลอดชีวิต ซึ่งในกรณีที่สัญญาไม่ได้ระบุระยะเวลาเอาไว้ให้นับจนกว่าผู้ทรงสิทธิจะเสียชีวิตลง (รวมไปถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเงื่อนไขต่าง ๆ, การยกเลิกสิทธิ ต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่)

ดังนั้นหากสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ สมมติว่าคุณเองมีกิจการหอพัก หรืออพาร์ทเม้นท์ให้เช่า บวกกับรายได้จากเงินเดือนประจำที่สูงก็สามารถจดสิทธิเก็บกินให้กับลูก, สามี ภรรยา หรือญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ของคุณเพื่อให้ถือว่ารายได้ดังกล่าวเป็นของผู้ทรงสิทธิ และการเสียภาษีของตัวคุณก็จะน้อยลงตามไปด้วย

ที่มา: ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี


RELATED ARTICLES

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67)

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67)

สำหรับผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจหรือทำมานานแล้วอาจกำลังหาสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 อยู่ ในวันนี้ทีมงาน Renthub ก็ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67) มาฝาก

โพสต์เมื่อ19 July 2024
แคชเชียร์เช็คคืออะไร ? ขึ้นเงินที่ไหนได้บ้าง ?

แคชเชียร์เช็คคืออะไร ? ขึ้นเงินที่ไหนได้บ้าง ?

การใช้แคชเชียร์เช็คก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักธุรกิจส่วนใหญ่เลือกใช้ และก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่าหลาย ๆ คน ยังไม่รู้จักว่าแคชเชียร์เช็คคืออะไร ? ต่างจากการเซ็นต์เช็คแบบธรรมดาหรือไม่ ? และสามารถนำแคชเชียร์เช็คไปขึ้นเงินได้ที่ไหน ? ซึ่งในวันนี้เราจึงจะขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ “แคชเชียร์เช็ค” กัน

โพสต์เมื่อ10 July 2024

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram