Home Icon

"ภาระจำยอม" คืออะไรกันนะ ?

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
26 July 2022
"ภาระจำยอม" คืออะไรกันนะ ?

สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า “ภาระจำยอม” คืออะไร ? ในบทความนี้เราก็จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเจ้าคำๆ นี้ ในแบบฉบับที่เข้าใจง่ายเหมือนเช่นเคย! และถ้าพร้อมแล้วเราไปพบกับความหมายของคำว่าภาระจำยอมพร้อมๆ กันเลย

ภาระจำยอมคืออะไร ?

ภาระจำยอม คือ ภาระที่เจ้าของที่ดินผืนหนึ่ง จะต้อมยอมรับให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากที่ดินของตนเอง โดยคำศัพท์ทางกฎหมายได้นิยามเอาไว้ว่า…

ภารยทรัพย์(พา-ระ-ยะ-ทรัพย์) = ที่ดินที่ต้องยอมรับกรรม

สามยทรัพย์(สา-มะ-ยะ-ทรัพย์) = ที่ดินที่ได้รับผลประโยชน์ในการได้ใช้สิทธิ์จากที่ดินภารยทรัพย์

“มาตรา 1387 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : เจ้าของที่ดินแปลงภาระทรัพย์จะต้องยอมรับภาระบางอย่าง ซึ่งกระทบกระเทือนถึงการใช้สิทธิในที่ดินของตัวเอง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างที่มีอยู่ในที่ดินตัวเองเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่น”

ตัวอย่างของภาระจำยอม

เจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ ยอมให้มีชายคาของผู้อื่นลุกล้ำเข้ามาในบริเวณที่ดินของตน

เจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ ยอมให้ผู้อื่นเดินทางผ่านที่ดินของตนเอง

เจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างบ้าน เพราะจะไปบดบังแสงแดด ทางลม ของที่ดินใกล้เคียง เป็นต้น

จุดสำคัญของภาระจำยอม

จุดสำคัญของภาระจำยอม คือ เป็นที่ดินที่ไม่จำเป็นจะต้องถูกห้อมล้อมหรือยู่ติดกันกับที่ดินของบุคคลอื่นๆ อีกทั้งยังไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นทางออกสู่พื้นที่สาธารณะ แต่สามารถใช้ออกไปพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ และ “การจดภาระจำยอม” นั้น จะต้องเป็นการที่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ทำการตกลงกันไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งทำเป็นหนังสือเพื่อไปแจ้งจดต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน

ภาระจำยอม สามารถทำได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ?

สำหรับใครที่ต้องการ “ทำภาระจำยอม” คุณก็สามารถดำเนินเรื่องได้ 2 วิธี ซึ่งประกอบไปด้วย

1.การได้ภาระจำยอมมาโดยนิติกรรม

การตกลงเจรจากับทางเจ้าของที่ดินที่ต้องยอมรับกรรม(ภารยทรัพย์) เพื่อทำข้อตกลงภาระจำยอม

2.การได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความ

ใช้ที่ดินอื่นเป็นทางจำยอมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 10 ปี โดยเปิดเผย

ทั้งนี้การเข้าไปตกลงเจรจากับทางเจ้าของที่ดินที่ต้องรับกรรม(ภารยทรัพย์) นั้น อาจจะมีค่าทดแทนหรือไม่มีเงินค่าทดแทนก็ได้ เพราะไม่ได้มีกฎหมายกำหนด

ตามข้อมูลที่เราได้กล่าวไปนั้น เป็นเพียงแค่รายละเอียดบางส่วนของ “ภาระจำยอม” เพราะจริงๆ แล้ว หากเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ ไม่ยินยอม! ก็อาจจะต้องมีการยื่นเรื่องจาก “ภาระจำยอม" เปลี่ยนเป็น "ทางจำเป็น” โดยการใช้สิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อให้เปิดทางพิพาทเป็น "ทางจำเป็น" แทน ซึ่งในโอกาสหน้าทีมงาน Renthub จะมาสรุปคำว่า “ทางจำเป็น” ให้คุณได้เข้าใจง่ายๆ เหมือนเช่นเคย และคุณก็สามารถติดตามบทความดีๆ ต่อได้ที่  Renthub Blog

RELATED ARTICLES

อ่านก่อนพลาด! สัญญาเช่าหอพักที่คุณควรรู้ก่อนจรดปากกาเซ็น

อ่านก่อนพลาด! สัญญาเช่าหอพักที่คุณควรรู้ก่อนจรดปากกาเซ็น

การเซ็นสัญญาเช่าหอพักนั้นจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีและถี่ถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาในระหว่างการเช่าหรือตอนที่กำลังจะย้ายออก อีกทั้งสัญญาเช่าหอพักยังถือเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งถ้าเจ้าของหอพักหรือผู้เช่าเกิดทำผิดสัญญา เอกสารฉบับนี้ก็จะกลายเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ในทันที ฉะนั้นแล้วในบทความนี้เราจะขอพาคุณไปรู้จักประเด็นสำคัญที่ต้องตรวจสอบในสัญญาเช่าหอพักก่อนจรดปากกาเซ็น เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า...การเซ็นสัญญาเช่าหอพักในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างยุติธรรมและปราศจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้คุณปวดหัวได้ในอนาคต

โพสต์เมื่อ13 December 2024
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67)

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67)

สำหรับผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจหรือทำมานานแล้วอาจกำลังหาสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 อยู่ ในวันนี้ทีมงาน Renthub ก็ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นท์ (ข้อมูลอัปเดต เดือน ก.ค. 67) มาฝาก

โพสต์เมื่อ19 July 2024

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram