Home Icon

หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
17 November 2022
หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

ประเด็นเรื่องการ “โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง” ยังคงเป็นประเด็นที่ร้อนระอุอยู่เสมอ เพราะเป็นอย่างที่เราทราบกันดีว่าการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของแต่ละกรณีมักจะมีมูลค่าจำนวนเงินที่ค่อนข้างจะสูง ดังนั้นในวันนี้ทางทีมงาน Renthub จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า “หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร” มาฝาก และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับข้อมูลที่ทางทีมงานนำมาฝากพร้อมๆ กันเลย

เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกพบต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

อันดับแรกเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าก่อนที่กรมสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้น ทางกรมสรรพากรจะมีการส่งจดหมายเรียกพบ ซึ่งคุณจะต้องตรวจเช็คให้ดีว่าเป็นจดหมายของกรมสรรพากรจริงๆ หรือไม่ ? และตรวจสอบข้อความในจดหมายว่ามีการระบุรายละเอียดอะไรไว้บ้าง ? เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเข้าพบ ซึ่งหลักๆ แล้วภายในจดหมายจะระบุข้อความไว้ว่า...

  1. กรมสรรพากรต้องการอะไร ? อาทิเช่น การขอเชิญเข้าพบ ขอตรวจสอบเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอเชิญให้คุณเป็นพยาน
  2. กรมสรรพากรต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติมบ้าง ?
  3. กรมสรรพากรต้องการเชิญคุณเข้าไปพบในวันและเวลาใด ? แต่ถ้าคุณไม่สะดวกวันและเวลาที่ทางกรมสรรพากรขอเชิญเข้าพบ คุณก็สามารถโทรติดต่อขอเลื่อนนัดได้ หรือคุณจะขอคำปรึกษาจากกรมสรรพากรก่อนก็ได้เช่นกัน

โดยรายละเอียดภายในจดหมายถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องอ่านรายละเอียดให้เข้าใจ เพราะยิ่งคุณมีการเตรียมตัวมากเท่าไหร่ การโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังก็จะลดน้อยลงไปเท่านั้น(ในกรณีที่คุณบริสุทธิ์ใจจริงๆ)

เอกสารสำคัญที่คุณจะต้องจัดเตรียมให้พร้อมก่อนเข้าพบกับกรมสรรพากร

หลังจากที่คุณได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรแล้ว ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้น คือให้คุณอ่านรายละเอียดภายในจดหมายให้เข้าใจ และจัดเตรียมเอกสารที่ทางกรมสรรพากรต้องการเพิ่มเติมให้ครบถ้วน เพื่อนำไปชี้แจงรายละเอียดต่างๆ อาทิเช่น

บุคคลธรรมดา

ในกรณีของภาษีบุคคลธรรมดา ทางกรมสรรพากรอาจจะเชิญเข้าพบเพื่อขอหลักฐานข้อมูลการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เช่น บัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของปีภาษีนั้นทั้งหมด ฯลฯ ทั้งนี้คุณอาจจะต้องเตรียมเอกสารอื่นๆ เพื่อไปชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วย เช่น เอกสารค่าลดหย่อนต่างๆ เป็นต้น

นิติบุคคล

ในกรณีของภาษีนิติบุคคล ทางกรมสรรพากรอาจจะเชิญเข้าพบเพื่อขอหลักฐานข้อมูลการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เช่น บัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในปีภาษีนั้นทั้งหมด, งบการเงิน, รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), เอกสารใบกำกับภาษีซื้อ-ขาย, หลักฐานการรับเงินและการจ่ายเงิน, เอกสารสำเนาใบเสร็จรับเงิน รวมไปถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กรมสรรพากรต้องการทราบ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการบริษัทนิติบุคคลไม่สามารถเดินทางไปเข้าพบกับกรมสรรพากรได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าพบกับกรมสรรพากรแทนได้ โดยให้นำสำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจเพื่อดำเนินการแทน

หากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

หากกรมสรรพากรเรียกเข้าไปพบเพื่อชี้แจงหลักฐานรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมเรียบร้อย และพบว่าผู้ถูกเรียกมีความผิดจริง ทางกรมสรรพากรจะเรียกเก็บเงินภาษีย้อนหลัง ซึ่งอาจจะมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมและค่าปรับดังนี้

  • กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
  • กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียกและปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ (เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจจะลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด)
  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร กรมสรรพากรมีสิทธิ์ตรวจสอบ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ถึง 10 ปี และยังมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากยังไม่พร้อมที่จะต้องเสียภาษีย้อนหลังทำอย่างไรได้บ้าง ?

หากโดนกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่! คุณยังไม่พร้อมในการชำระเงิน คุณสามารถขออนุโลมผ่อนผันการชำระได้ดังนี้...

1. ขอผ่อนชำระ

คุณสามารถขอผ่อนชำระได้ หากไม่สามารถชำระได้ภายในครั้งเดียวเพราะเบี้ยค่าปรับมีจำนวนสูงจนเกินไป

2. ขอลดเบี้ยค่าปรับ

คุณสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอลดเบี้ยค่าปรับได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี แต่เกิดจากความผิดพลาดในด้านการคำนวณหรือผิดพลาดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในข้อกฎหมาย

3. ยื่นอุทธรณ์

คุณสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ หากคิดว่าการตัดสินไม่เป็นไปตามความจริง

ข้อมูลที่เราได้กล่าวไปข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นข้อปฏิบัติเมื่อคุณถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร ซึ่งถ้าคุณมั่นใจและไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี คุณก็อย่าลืมที่จะเตรียมตัวเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม เพื่อชี้แจงและแสดงความบริสุทธิ์ใจให้กับทางกรมสรรพากรได้รับทราบ แต่! สำหรับในกรณีที่คุณจงใจจะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี “การโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง” ก็คงจะกลายเป็นบทเรียนชิ้นสำคัญที่คุณจะไม่มีวันลืมอย่างแน่นอน!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Inflow Account

บทความอื่นๆ :

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ? หาคำตอบได้ในบทความนี้

"ภาระจำยอม" คืออะไรกันนะ ?

"ภาษีลาภลอย" คืออะไร ?

RELATED ARTICLES

เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2568" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2568" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่คิดว่าการเช็คราคาประเมินที่ดินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เราก็คงจะต้องขอบอกเลยว่าคุณคิด “ผิด” เพราะในปัจจุบันนี้กรมธนารักษ์และกรมที่ดินได้เปิดให้ประชาชนสามารถเช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินให้เสียเวลาเหมือนในอดีต อีกทั้งเจ้าของหอพักหรือผู้ที่กำลังมองหาทำเลเพื่อสร้างหอพักอพาร์ทเม้นท์คุณก็สามารถเช็คราคาประเมินที่ดินได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้...

โพสต์เมื่อ08 February 2025
"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!

กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้ให้ละเอียดละเข้าใจ เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเจ้าของหอพักหัวหมอ!

โพสต์เมื่อ05 January 2025

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2024, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram
Instagram
Instagram