Renthub Logo
Home Icon

หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

BY
Natni P.
โพสต์เมื่อ
17 November 2022
หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

ประเด็นเรื่องการ “โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง” ยังคงเป็นประเด็นที่ร้อนระอุอยู่เสมอ เพราะเป็นอย่างที่เราทราบกันดีว่าการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของแต่ละกรณีมักจะมีมูลค่าจำนวนเงินที่ค่อนข้างจะสูง ดังนั้นในวันนี้ทางทีมงาน Renthub จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า “หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังขึ้นมาจะต้องทำอย่างไร” มาฝาก และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับข้อมูลที่ทางทีมงานนำมาฝากพร้อมๆ กันเลย

เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกพบต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

อันดับแรกเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าก่อนที่กรมสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้น ทางกรมสรรพากรจะมีการส่งจดหมายเรียกพบ ซึ่งคุณจะต้องตรวจเช็คให้ดีว่าเป็นจดหมายของกรมสรรพากรจริงๆ หรือไม่ ? และตรวจสอบข้อความในจดหมายว่ามีการระบุรายละเอียดอะไรไว้บ้าง ? เพื่อที่คุณจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเข้าพบ ซึ่งหลักๆ แล้วภายในจดหมายจะระบุข้อความไว้ว่า...

  1. กรมสรรพากรต้องการอะไร ? อาทิเช่น การขอเชิญเข้าพบ ขอตรวจสอบเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอเชิญให้คุณเป็นพยาน
  2. กรมสรรพากรต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติมบ้าง ?
  3. กรมสรรพากรต้องการเชิญคุณเข้าไปพบในวันและเวลาใด ? แต่ถ้าคุณไม่สะดวกวันและเวลาที่ทางกรมสรรพากรขอเชิญเข้าพบ คุณก็สามารถโทรติดต่อขอเลื่อนนัดได้ หรือคุณจะขอคำปรึกษาจากกรมสรรพากรก่อนก็ได้เช่นกัน

โดยรายละเอียดภายในจดหมายถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องอ่านรายละเอียดให้เข้าใจ เพราะยิ่งคุณมีการเตรียมตัวมากเท่าไหร่ การโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังก็จะลดน้อยลงไปเท่านั้น(ในกรณีที่คุณบริสุทธิ์ใจจริงๆ)

เอกสารสำคัญที่คุณจะต้องจัดเตรียมให้พร้อมก่อนเข้าพบกับกรมสรรพากร

หลังจากที่คุณได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรแล้ว ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้น คือให้คุณอ่านรายละเอียดภายในจดหมายให้เข้าใจ และจัดเตรียมเอกสารที่ทางกรมสรรพากรต้องการเพิ่มเติมให้ครบถ้วน เพื่อนำไปชี้แจงรายละเอียดต่างๆ อาทิเช่น

บุคคลธรรมดา

ในกรณีของภาษีบุคคลธรรมดา ทางกรมสรรพากรอาจจะเชิญเข้าพบเพื่อขอหลักฐานข้อมูลการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เช่น บัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของปีภาษีนั้นทั้งหมด ฯลฯ ทั้งนี้คุณอาจจะต้องเตรียมเอกสารอื่นๆ เพื่อไปชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วย เช่น เอกสารค่าลดหย่อนต่างๆ เป็นต้น

นิติบุคคล

ในกรณีของภาษีนิติบุคคล ทางกรมสรรพากรอาจจะเชิญเข้าพบเพื่อขอหลักฐานข้อมูลการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม เช่น บัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี, หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในปีภาษีนั้นทั้งหมด, งบการเงิน, รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), เอกสารใบกำกับภาษีซื้อ-ขาย, หลักฐานการรับเงินและการจ่ายเงิน, เอกสารสำเนาใบเสร็จรับเงิน รวมไปถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กรมสรรพากรต้องการทราบ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการบริษัทนิติบุคคลไม่สามารถเดินทางไปเข้าพบกับกรมสรรพากรได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าพบกับกรมสรรพากรแทนได้ โดยให้นำสำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนาของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจเพื่อดำเนินการแทน

หากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังต้องทำอย่างไร ?

หากกรมสรรพากรเรียกเข้าไปพบเพื่อชี้แจงหลักฐานรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมเรียบร้อย และพบว่าผู้ถูกเรียกมีความผิดจริง ทางกรมสรรพากรจะเรียกเก็บเงินภาษีย้อนหลัง ซึ่งอาจจะมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมและค่าปรับดังนี้

  • กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระ นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
  • กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียกและปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ (เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจจะลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด)
  • กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร กรมสรรพากรมีสิทธิ์ตรวจสอบ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ถึง 10 ปี และยังมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากยังไม่พร้อมที่จะต้องเสียภาษีย้อนหลังทำอย่างไรได้บ้าง ?

หากโดนกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่! คุณยังไม่พร้อมในการชำระเงิน คุณสามารถขออนุโลมผ่อนผันการชำระได้ดังนี้...

1. ขอผ่อนชำระ

คุณสามารถขอผ่อนชำระได้ หากไม่สามารถชำระได้ภายในครั้งเดียวเพราะเบี้ยค่าปรับมีจำนวนสูงจนเกินไป

2. ขอลดเบี้ยค่าปรับ

คุณสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอลดเบี้ยค่าปรับได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าคุณไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษี แต่เกิดจากความผิดพลาดในด้านการคำนวณหรือผิดพลาดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในข้อกฎหมาย

3. ยื่นอุทธรณ์

คุณสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ หากคิดว่าการตัดสินไม่เป็นไปตามความจริง

ข้อมูลที่เราได้กล่าวไปข้างต้นล้วนแล้วแต่เป็นข้อปฏิบัติเมื่อคุณถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร ซึ่งถ้าคุณมั่นใจและไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี คุณก็อย่าลืมที่จะเตรียมตัวเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม เพื่อชี้แจงและแสดงความบริสุทธิ์ใจให้กับทางกรมสรรพากรได้รับทราบ แต่! สำหรับในกรณีที่คุณจงใจจะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี “การโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง” ก็คงจะกลายเป็นบทเรียนชิ้นสำคัญที่คุณจะไม่มีวันลืมอย่างแน่นอน!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Inflow Account

บทความอื่นๆ :

ภาษีย้อนหลังคืออะไร ? หาคำตอบได้ในบทความนี้

"ภาระจำยอม" คืออะไรกันนะ ?

"ภาษีลาภลอย" คืออะไร ?

RELATED ARTICLES

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

ในช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คน คงจะเห็นประเด็นข่าวอันร้อนแรงเกี่ยวกับการ “ครอบครองปรปักษ์” กันมาบ้างแล้ว จนเป็นเหตุให้คำ ๆ นี้ ได้กลายเป็นคำค้นหาที่ติดอันดับใน Google ว่าการครอบครองปรปักษ์คืออะไร ? มีหลักเกณฑ์มีข้อบังคับหรือมีข้อเกี่ยวข้องกับทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ? ซึ่งอันดับแรกเราต้องขอบอกก่อนเลยว่าการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่คนไทยทุกคนควรจะต้องทำความเข้าใจและรับรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ เพื่อที่จะได้รักษากรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของอสังหาฯ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาในอนาคต และในวันนี้ทีมงาน Renthub จึงจะขอมาสรุปใจความสำคัญของ “การครอบครองปรปักษ์” ในแบบฉบับที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ให้คุณได้อ่านกัน

โพสต์เมื่อ04 April 2024
เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

เปิดวิธี "เช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ 2567" ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่คิดว่าการเช็คราคาประเมินที่ดินเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เราก็คงจะต้องขอบอกเลยว่าคุณคิด “ผิด” เพราะในปัจจุบันนี้กรมธนารักษ์และกรมที่ดินได้เปิดให้ประชาชนสามารถเช็คราคาประเมินที่ดินออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินให้เสียเวลาเหมือนในอดีต อีกทั้งเจ้าของหอพักหรือผู้ที่กำลังมองหาทำเลเพื่อสร้างหอพักอพาร์ทเม้นท์คุณก็สามารถเช็คราคาประเมินที่ดินได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้...

โพสต์เมื่อ09 February 2024

POPULAR ARTICLE

"กฎหมายเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟ" ในอพาร์ทเม้นท์ เรื่องสำคัญที่ผู้เช่าต้องรู้!
Renthub Logo

บริษัท ซิมเปิ้ล มีเดีย จํากัด
เลขที่ 242, 244, 246 ชั้น 2 ห้องเลขที่ A210A ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10230
โทร. 02-105-4287

COPYRIGHT © 2019, ZIMPLE MEDIA CO.,LTD, ALL RIGHTS RESERVED.

FOLLOW UP

Facebook
Line
Youtube
Instagram